TopAdsense

หลักเกษตรธรรมชาติ

ถ้าเราศึกษาสภาพป่าเราจะเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมด
ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้
และซากพืช มูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็กๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ
กัดแทะเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัสซึ่งเป็นแหล่ง
ธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั้นเอง ดังนั้นจึงไม่จำ เป็นต้องเอา
ปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรกรสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก
ปยุ๋ น้าํ ชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า เปน็ ตน้ ทดแทนการใช้
ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ ป้องกัน
การสูญเสียความชื้นภายในดินทำ ให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ถ้าศึกษา
ต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำ เอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่า
ก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกัน
ทั้งหมดแต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำ ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหาร
ที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้น
จึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้น
เกษตรกรจึงสามารถจำ ลองสภาพป่าไว้ในไร่-นา โดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด
หลักเกษตรธรรมชาติก็เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วย
การปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำ นึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปอย่างพร้อมกัน คือ

1. มีการปรับ ปรงุ ดนิ ใหม้ คี วามอดุ มสมบรู ณ  ซึ่งสามารถทาํ ไดโ้ ดย

1) ปรบั ปรงุ ดนิ โดยใชป้ ยุ๋ อนิ ทรยี แ์ ละปยุ๋ ชวี ภาพ : ป๋ยุ อินทรีย  ได้แก  ปุ๋ยหมัก
ปยุ๋ น้าํ ชีวภาพ ได้แก ่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ปุ๋ยเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุอาหารหลัก และ ธาตอุ าหาร
รองแก่พืชอย่างครลถ้วนจึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี
2) การคลุมดิน : ทำ ได้โดยใช้เศษพืชต่าง ๆ จากไร่-นา เช่นฟางหญ้าแห้ง
ต้นถั่ว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกคลุมดิน
หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการ
ชะล้างของหน้าดิน
ทำ ปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน
และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและนํ้าช่วยทำ ให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวก
ต่อการไชขอนของรากพืช ช่วยรักษาอุณหภูมิของดินมิให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกัน
วัชพืชช่วยกระตุ้นให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ นอกจากนวี้ สั ดคุ ลมุ ดนิ
จะค่อยๆ ย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่นการใช้เศษพืชคลุมดิน ซึ่งประโยชน์
ต่าง ๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมานี้จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตดี อนึ่ง
ในการคลุมดินถ้าสามารหถคลุมดินได้หนาพอจะช่วยป้องกันวัชพืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิต
ดี อนึ่งในการคลุมดินถ้าามารถคลุมดินได้หนาพอจะช่วยป้องกันวัชพืชได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง
ยังช่วยให้ดินที่เตรียมไว้ดีตั้งแต่ก่อนปลูกยังคงมีความอ่อนนุ่มและร่วนซุยตลอดฤดูอีกด้วย
ปลูกพืชแล้วต้องคลุมดินเสมอ
3) การปลูกพืชหมุนเวียน : เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน
ทั้งชนิดและปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก
ถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้วจะทำ ให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้
และสะสมสลับกันไปทำ ให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง
หัวใจของเกษตรธรรมชาติอยู่ที่ดินดี
พืชที่ปลูกอยู่บนดินที่ดีจะเติบโตแข็งแรงสามารถต้านทาน
การทำ ลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้และส่งผลให้ได้ผลผลิตดี
ดนิ ดปี ลกู อะไร อะไรกง็ อกงาม ต้านทานโรคแมลง และ ใหผ้ ลผลติ ดี มคี ณุ ภาพ
การปลูกพืชผักโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ✽ 10

2. ปลูกพืชหลายชนิด : การปลูกพืชหลายชนิดเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่ – นา

ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำ ให ้
มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลากหลาย
ชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในจำ นวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็น
ศัตรูธรรมชาติที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์
นั่นเอง การปลูกพืชหลายชนิดสามารถทำ ได้หลายรูปแบบ เช่น
      1) การปลูกหมุนเวียน : เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อ
กันบนพื้นที่เดียวกัน การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลงและ
ช่วยประโยชน์ในทางด้านการปรับปรุงดิน โดยมีหลักในการเลือกพืชชนิดต่างๆ มาไว้ใน
ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนดังนี้
ก. ไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อกัน
ข. ควรปลูกพืชกินใบ กินดอก / ผล และกินหัว สลับกัน เนื่องจากพืชทั้งสามชนิดนี้
จะมีความต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน
ค . ควรปลูกพืชที่มีระบบรากสั้นและรากยาวสลับกับ เพื่อให้รากแผ่กระจาย
ไปหาอาหารในดินที่ต่างระดับกันสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
ง. ควรปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วต่างๆ พืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการตรึงไนโตรเจนมากยิ่งขึ้น(ดูรายละเอียดในเรื่องปุ๋ยชีวภาพ)
จ. ควรปลูกตระกูลหญ้า(เช่น ข้าว ข้าวโพด)อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พืชตระกูลหญ้า
ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ และแมลงศัตรูพืชของพืชตระกูลหญ้าก็แตกต่างจากผักตระกูล
ต่างๆ เป็นการตัดวงจรอาหารของแมลง จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้
ฉ. ควรปลูกพืชที่มีเศษเหลือทิ้งเช่น ส่วนของใบและลำ ต้นหลังการเก็บเกี่ยวมากสลับ
กับพืชที่มีเศษเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวน้อย
ช. ในการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น เลือก
ปลูกถั่วลิสง และดาวเรือง เพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยรากปม
     2) การปลูกพืชแซม : การเลือกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้น
ต้องเกื้อกูลกัน เช่น ชว่ ยปอ้ งกนั แมลงศตั รพู ืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ชว่ ยคลมุ ดนิ
ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น ตัวอย่างของการปลูกพืชแซมมี ดังต่อไปนี้
ก. การปลูกดอกไม้สีสดๆ เช่น บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย ทานตะวัน
รอบๆ แปลงผัก/สวนไม้ผล หรือปลูกแซมไปกับผัก/ไม้ผลอย่างประปรายก็ได้ สีของ
ดอกไม้จะช่วยดึงดูดให้แมลงศัตรูธรมชาติหรือแมลงตัวหํ้าและตัวเบียนเข้ามา
อยู่ในแปลงและนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้ก็จะเป็นอาหารของแมลงเหล่านี้ด้วย
แมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช
ข. การปลูกตะไคร้หอมรอบๆ แปลง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เพื่อตัดใบตะไคร้หอม
จะมีกลิ่นไล่แมลง ใบตะไคร้หอมนำ มาใช้คลุมดินได้ดีและยังช่วยไล่แมลง หรืออาจ
ตัดใบตะไคร้หอมโรยไว้ที่แปลงเพื่อป้องกันแมลงก็ได้ นอกจากนี้ใบตะไคร้หอมยัง
นำ มาทำ นํ้ายาสมุนไพรฉีดพ่นไล่แมลงได้อีกด้วย
ค. การปลูกพืชบางชนิดซึ่งมีกลิ่นหรือสารไล่แมลงศัตรูพืช เช่น ผักกาดหอม กระเทียม
ดาวเรือง ผักชี กระเพราะ มะเขือเทศ ฯลฯ แซมลงไปในแปลงปลูกพืชหลักเพื่อลด
แมลงศัตรูพืช เช่น ปลูกผักชีร่วมกับคะน้า เป็นต้น
ง. การปลูกดาวเรืองร่วมกับพืชอื่น เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ กล้วยหักมุก สับปะรด จะ
ช่วยลดความเสียหายจากการทำ ลายของไส้เดือนฝอยรากปมได้ หรืออาจปลูกด้าว
เรืองหมุนเวียนเพื่อลดไส้เดือนฝอยดังที่กล่าวมาแล้ว
จ. การปลูกหอมร่วมกับพืชตระกูลแตงเช่นแตงกวา แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น หรือ
การปลูกกุ๋ยไชร่วมกับพืชตระกูลพริก-มะเขือ จะช่วยป้องกันโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อ
ฟิวซาเรียมได้เนื่องจากบริเวณรอบๆ รากหอมและรากกุ๋ยไชมีแบคทีเรียต่อต้านเชื้อ
ราสาเหตุของโรคได้
ซ. การปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถวของข้าวโพดจะช่วยทำ ให้แมลงศัตรูธรรมชาติมา
อาศัยอยู่ในแปลง เช่น มีแมงมุมตัวหํ้าช่วยควบคุมหนอนเจาะลำ ต้นข้าวโพด เป็นต้น

3. อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ : ซึ่งสามารถทำ ได้โดย
     1 ) การที่ไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีทำ ลายทั้งแมลงศัตรูพืชและแมลง
ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ด้วย การที่ไม่ใช้สารเคมีทำ ให้มีศัตรูธรรมชาติ
พวกตัวหํ้าและตัวเบียนมากขึ้นในพื้นที่บริเวณนั้น ซึ่งศัตรูธรรมชาติเหล่านี้จะช่วย
ควบคุมแมลงศัตรูพืชให้
     2) ปลูกดอกไม้สีสดๆ เช่น บานชื่น ทานตะวัน บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย
เป็นต้น โดยปลูกไว้รอบแปลง หรือปลูกแซมลงในแปลงเพาะปลูก สีของดอกไม้จะ
ดึงดูดแมลงนานาชนิด และ ในจำ นวนนั้นก็มีแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย จึงเป็นการ
เพิ่มจำ นวนแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงเพาะปลูกซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช
ให้แก่เกษตรกร ปลกู ดอกไม้สีสดๆ เชน่ บานชื่น ไว้รอบๆแปลง เพื่ออนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์
และกลิ่นยังช่วยไล่แมลงศัตรูพืชบางชนิดอีกด้วย
      ถึงตรงนี้ผู้อ่านเข้าใจอย่างกว้างๆ แล้วว่าเรามีหลักในการปลูกพืชโดยไม่ใช้
ปุ๋ยเคมีและสารเคมีหรือหลักเกษตรธรรมชาติ 3 ข้อใหญ่ๆ และจากนี้ไปก็จะกล่าวถึงราย
ละเอียดของแต่ละองค์ประกอบที่สำ คัญ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยนํ้าชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืช
Next
บทความใหม่กว่า
Previous
This is the last post.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top