การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ
การฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติในไร่-นาที่ผ่านการใช้สารเคมีในรูปแบบต่างๆ มาอย่างมากและเป็นเวลานานให้กลับคืนมาตามหลักการทั้ง 3 ข้อ เป็นเรื่องที่เกษตรกรสามารถ
ทำ ได้โดยใช้เวลาแต่ในปีแรกๆ จะประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวนบ้างเนื่องจากดินที่เริ่มถูก
ปรับปรุงยังไม่มีความอุดมสมบูรณ์ดีพอและมีสารปนเปื้อนอยู่มากทำ ให้พืชยังไม่สามารถเติบโต
และแข็งแรงได้อย่างเต็มที่ ทำ ให้อ่อนแอต่อการทำ ลายของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งศัตรู
ธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชก็ยังน้อยอยู่จึงทำ ให้เกษตรกรประสบปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชรบ
กวนและผลผลิตตํ่าในระยะ 1-3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นไปถ้ามีการจัดการดีจะทำ ให้ปัญหาโรค
และแมลงศัตรูพืชลดลงพร้อมทั้งผลผลิตก็จะสูงขึ้น การเพาะปลูกพืชก็ง่ายขึ้น การใช้ปุ๋ยธรรม
ชาติก็ลดลงรวมทั้งการป้องกันกำ จัดศัตรูพืชก็ใช้ปัจจัยน้อยลงซึ่งก็หมายถึงตน้ ทุนการผลิตลดลง
แต่ผลผลิตสูงขึ้นซึ่งเป็นการทำ การเกษตรที่ยั่งยืน
ดังนั้น หากเกษตรกรประสบปัญหาศัตรูพืชสามารถป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้
สารเคมีซึ่งมีหลายแนวทางให้เลือกใช้หรืออาจนำ หลายๆ แนวทางมาผสมผสานกันก็ได้ตาม
ความเหมาะสม ศัตรูพืชแบ่งได้อย่างกว้างๆ ได้ 3 ประเภท คือ วัชพืช โรคพืชและแมลงศัตรูพืช
ซึ่งจะสามารถป้องกันและกำ จัดได้ดังแนวทางต่อไปนี้
การป้องกันและกำ จัดวัชพืช
1. ใช้วิธีการถอน ใช้จอบถาง ใช้วิธีการไถพรวน2. ใช้วัสดุคลุมดินซึ่งเป็นการปกคลุมผิวดินช่วยอนุรักษ์ดินและนํ้าและเป็นการเพิ่ม
อินทรีย์วัตถุให้กับดินอีกด้วย โดยส่วนใหญ่มักใช้วัสดุธรรมชาติ ได้แก่ เศษซากพืช
หรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ต้นถั่ว
ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพลาสติกที่ผลิตขึ้นสำ หรับการ
คลุมดินโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำ มาใช้ได้เช่นกัน
3. ปลูกพืชคลุมดิน เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนไม้ผล การปลูกพืชต่างๆ
เช่น ผัก ไม้ดอก สมุนไพร แซมในสวนไม้ผล เป็นต้น
การป้องกันและกำ จัดโรคและแมลงศัตรูพืช
1. การป้องกันและกำ จัดโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำ ลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ การใช้กับดักกาวเหนียว
เป็นต้น
2. การป้องกันและกำ จัดโดยวิธีเขตกรรม (cultural control) เช่น
1) การดูแลรักษาแปลงให้สะอาด
2) การหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืช
3) การเก็บเกี่ยวพืชเพื่อหลีกเลี่ยงการทำ ลายของโรคและแมลง
การปลูกพืชผักโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ✽ 20
4) การใช้ระบบการปลูกพืช เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแซม
5) การจัดการให้นํ้า
6) การใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชเพื่อลดการทำ ลายของโรคและ
แมลง
3. การป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological control) คือการใช้ประโยชน์จากแมลงศัตรูธรรมชาติ คือ
1) ตัวเบียน (parasite) ส่วนใหญ่หมายถึง แมลงเบียน (parasitic insects) ที่
อาศัยแมลงศัตรูพืชเพื่อการดำ รงชีวิตและการสืบพันธุ์ซึ่งทำ ให้แมลงศัตรูพืช
ตายในระหว่างการเจริญเติบโต
2) ตัวหํ้า ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ดำ รงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการ
เจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวหํ้าพวกนี้ ได้แก่
✣ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์ปีก เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู
กิ้งก่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า เช่น กบ
✣ ตัวหํ้าส่วนใหญ่ที่มีความสำ คัญในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชได้แก่สัตว์
ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงมุม ไรตัวหํ้า และตัวหํ้าส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลง
หํ้า (predatory insects) ซึ่งมีมากชนิดและมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
3) เชื้อโรค ส่วนใหญ่หมายถึงจุลินทรีย์ที่ทำ ให้แมลงศัตรูพืชเป็นโรคตาย เช่น
เชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรโตซัว ไส้เดือนฝอยทำ ลายแมลงศัตรูพืช
1. การป้องกันโดยใช้พันธุ์พืชต้านทาน (host plant resistance)
2. การป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพรต่างๆ
ตัวอย่างการป้องกันและกำ จัดโรคและแมลงศัตรูพืช
1.การใช้นํ้าสกัดสมุนไพรในการป้องกันและกำ จัดแมลงศัตรูพืช เช่น การใช้สะเดา ข่า และตะไคร้หอม ซึ่งทำ ได้โดยใช้สะเดา (ใช้ส่วนของเมล็ดแก่) ข่า (ใช้ส่วนของหัวข่า
แก่) ตะไคร้หอม (ใช้ส่วนของใบสีเขียวเข้ม) อย่างละ 2 กก. โขลกหรือตำ แล้วแช่นํ้า 20 ลิตร
นาน 24 ชั่วโมง โดยไว้ในที่ร่ม กรองเอากากออก น้ำ ยาที่ได้จะเขม้ ข้นควรเจือจางด้วย
นํ้าประมาณ 8 เท่า (ควรเติมสารจับใบซึ่งจะใช้นํ้าสบู่ 3 ช้อนแกงต่อนํ้ายาที่ผสมแล้ว 20 ลิตร
เพื่อให้นํ้ายาเกาะติดใบและตัวแมลงได้ดีขึ้น) สูตรนี้ใช้ฉีดป้องกันและกำ จัดหนอนและแมลง
ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้กับแมลงทุกชนิด เช่นแมลงปีกแข็งพวกด้วงเต่าแตง จะใช้
ไม่ค่อยได้ผลแต่นํ้าสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าจะใช้ได้ผลดีกับแมลงปีกแข็งดังกล่าว ยังมีพืช
สมุนไพรอีกมากมายหลายชนิดที่สามารถใช้ป้องกันและกำ จัดแมลงศัตรูพืชได้ เช่น ขมิ้น โล่ติ้น
พริกขี้หนู สาบเสือ ยาสูบ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถนำ มาทดลองใช้ในการป้องกันและกำ จัดแมลงศัตรู
พืชได้โดยนำ มากสกัดด้วยวิธีง่ายๆ คือ บดแล้วแช่นํ้า นำ นํ้าสกัดสมุนไพรนั้นไปเจือจางตาม
ความเหมาะสมแล้วนำ ไปฉีดพ่น ในช่วงที่มีหนอนมาก ควรฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน แต่อย่างไรก็ตาม
ควรตรวจดูแมลงทุกๆเช้าถ้าพบก็ให้ใช้มือรีบกำ จัดก่อน เช่น กลุ่มของไข่แมลง กลุ่มของตัว
การปลูกพืชผักโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ✽ 21
หนอน เป็นต้น ในการใช้สารสกัดสมุนไพรอาจจำ เป็นต้องใช้บ่อยครั้งในช่วงแรกๆ ของการทำ
เกษตรธรรมชาติเนื่องจากมีแมลงศัตรูธรรมชาติอยู่น้อยแต่ถ้าในช่วงหลังๆ ดินดีขึ้นและมีแมลง
ศัตรูธรรมชาติมากขึ้นก็ไม่จำ เป็นต้องใช้สารสกัดสมุนไพรในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหรืออาจ
ใช้น้อยมากก็สามารถปลูกพืชได้ผลดีเช่นกัน
สารจับใบที่ได้จากนํ้าสบู่สามารถทำ ได้โดยใช้สบู่ซันไลท์ 1 ก้อน หั่นเป็นฝอยๆ เติมนํ้า
อุ่น 1 ลิตร คนให้ละลาย นํ้าสบู่นี้จะใช้เติมในนํ้าสมุนไพรได้ทุกสูตรซึ่งเป็นสารจับใบ เพื่อให้นํ้า
ยาเกาะติดใบและตัวแมลงได้ดีขึ้น อัตราที่ใช้คือ ใช้นํ้าสบู่ 3 ช้อนแกง ต่อนํ้าสมุนไพรที่ผสมแล้ว
20 ลิตร
2.การใช้สารสกัดสุมนไพรป้องกันและกำ จัดโรคพืช เช่น การใช้ว่านหางจระเข้
กระเทียม อย่างละ 200 กรัม บดแล้วกรองเอากากออก เติมนํ้าให้ครบ 20 ลิตร เติมนํ้าส้ม
สายชู 100 มลิ ลลิ ติ ร และเติมนาํ้ สบดู่ งั กลา่ วมาแลว้ ดว้ ย ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน เพอื่ ปอ้ งกนั โรครา
แป้งของพืชตระกูลแตงได้ จากผลการทดลองพบว่ากระเทียมมีผลต่อการป้องกันโรคราแป้งบน
ใบแคนตาลูปได้มากและว่านหางจระเข้มีผลต่อการป้องกันโรคนี้ได้ปานกลาง (T. Sittirungsun
and H. Horita, 1999)
3.การนำ วัสดุเหลือใช้มาใช้ในการป้องกันและกำ จัดแมลงศัตรูพืช เช่น เปลือกไข่นำ
มาห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วเผา และนำ มาทุบให้พอละเอียด นำ ไปโรยรอบๆ ต้นพืช
ช่วยป้องกันหนอนกระทู้ได้ เป็นต้น
1. การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง จากผลการทดลอง พบว่าการใช้กับดักกาว
เหนียวสีเหลืองในการป้องกันและกำ จัดแมลงศัตรูพืชจะช่วยลดแมลงศัตรูพืชได้มากในระยะแรก
ของการทำ เกษตรธรรมชาติเพราะในช่วงนั้นมีแมลงศัตรูธรรมชาติหรือตัวหํ้าตัวเบียนอยู่น้อย
แต่ถ้าทำ เกษตรธรรมชาติไประยะหนึ่งและมีแมลงศัตรูธรรมชาติมากพอก็ไม่มีความจำ เป็นใน
การใช้กับดักกาวเหนียวอีกก็สามารถปลูกพืชได้ผลดี นอกจากนี้กับดักกาวเหนียวยังเหมาะ
สำ หรับการปลูกพืชผักกางมุ้งหรือปลูกใน Green House รวมทั้งแปลงเกษตรกรต้องการลดการ
ใช้สารเคมีอีกด้วย (T. Sekine and T. Sittirungsun, 2000)
ในปัจจุบันมีเกษตรชาวสวนผลไม้นำ เอากาวเหนียวสีเหลืองนี้ไปทารอบโคนต้นผลไม้
เพื่อป้องกันมดซึ่งจะมีผลต่อการป้องกันพวกเพลี้ยต่างๆ ได้ผลดี เช่นเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
แถบภาคตะวันออก เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น