ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยจุลินทรีย์
หมายถึง การนำ เอาจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ กายภาพ ทางเคมีชีวะและทางการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากอินทรีย์วัตถุ
หรืออนินทรีย์วัตถุหรือหมายถึงจุลินทรีย์ที่นำ มาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่ม
ความต้านทานของโรคพืช
หมายถึง ปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถทำ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
กับพืช ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งก็คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ
แบ่งออกตามชนิดของจุลินทรีย์หรือตามประเภทของธาตุอาหารที่สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ให้กับพืชซึ่งได้แก่ธาตุอาหารหลัก คือ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โปตัสเซียม และในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะไรโซเบียมและไมโครไรซ่าเท่านั้น
ไรโซเบียม
เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่อยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วต่างๆ ก้ามปูกระถินณรงค์ เป็นต้น ในแต่ละปี จุลินทรีย์สามารถนำ ธาตุไนโตรเจนกลับมาสู่ดินได้
ประมาณ 170 ล้านตัน/ปี จากผลการทดลองของกรมวิชาการเกษตรพบว่า การปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ใช้
ไรโซเบียมหรือปุ๋ยเคมีจะให้ผลผลิต 100-150 กก./ไร่ แต่ถ้าใช้เชื้อไรโซเบียมจะให้
ผลผลิต 200-300 กก./ไร่ (ซึ่งเทียบเท่ากับต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก./ไร่ ในการปลูกถั่ว
เหลืองนี้) หัวใจสำ คัญที่ทำ ให้พืชตระกูลถั่วช่วยในการบำ รุงดินก็คือไรโซเบียม
ใช้ไรโซเบียมร่วมกับพืชตระกูลถั่วสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้
การเกิดปม
✣ จะเห็นปมถั่วภายใน 5-10 วัน ถ้าปลูกในเรือนทดลอง
✣ จะเห็นปมถั่วภายใน 15-25 วัน ในสภาพไร่
✣ ปมที่ดีจะมีภายในปมเป็นสีแดงเข้ม
✣ ปมที่แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
✣ ปมที่มีสีขาวซีดหรือเขียวอ่อนจะไม่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน อายุการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม
✣ ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซยี ส เกบ็ ไดน้ าน 5-6 เดอื น
✣ ที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซยี ส เกบ็ ไดน้ าน 1 ปี
✣ ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง (Freeze) เด็ดขาด เพราะเชื้อจะตาย และเชื้อ
ไรโซเบียมไม่สามารถทนอุณหภูมิได้เกิน 40 องศาเซลเซียส
วิธีการคลุกเชื้อ
✣ ใช้สารช่วยให้ติดเมล็ด เช่น นํ้ามันพืช นํ้าตาลทราย 30% แป้งเปียก เป็นต้น ใช้ สารช่วยติดเมล็ด 300 ซี.ซี. ต่อเชื้อ 1 ซอง
✣ เชื้อ 1 ซอง หรือ 200 กรัม ใช้คลุกกับเมล็ดถั่วเหลือง 10 กก. หรือ เมล็ดถั่วลิสง
15 กก. หรือเมล็ดถั่วเขียว 5 กก. แต่ต้องใช้ชนิดของเชื้อไรโซเบียมให้ตรงกับชนิดของเมล็ดถั่ว
นั้นๆ
ข้อควรระวัง
1. ต้องใช้เชื้อไรโซเบียมให้ถูกต้องกับชนิดของถั่ว
2. ไม่ปล่อยให้เมล็ดที่คลุกเชื้อแล้วตากแดดตากลม ควรเก็บในถุงพลาสติกหรือภาชนะเปิดและไว้ในที่ร่ม
3. ไม่ทิ้งเมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมไว้ข้ามคืน ถ้าเหลือควรผึ่งเมล็ดไว้ในที่ร่มและแห้ง แล้วคลุกเชื้อใหม่เมื่อต้องการปลูก
4. ไม่ปลูกเมื่อดินแห้งมากๆ ควรปลูกเมื่อดินหมาดๆ หรือปลูกแล้วให้นํ้าได้ทันที
5 . เมื่อหยอดเมล็ดแล้วควรกลบเมล็ดให้ดีเพื่อมิให้เมล็ดถูกแดดเผาและเชื้อตาย
6. อย่าใช้เชื้อไรโซเบียมที่หมดอายุแล้ว
7. สารป้องกันกำ จัดโรคพืช แมลง และวัชพืช อาจมีผลต่อเชื้อไรโซเบียมได้
8. ปุ๋ยไนโตรเจนจะไม่ช่วยส่งเสริมการตรึงไนโตรเจนของไรโซเบียม ยิ่งใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจนลงดินมากจะทำ ให้การตรึงไนโตรเจนลดลง
9. ดินร่วนซุยจะทำ ให้ไรโซเบียมเจริญได้ดีกว่าดินเหนียวและดินนํ้าขัง
สถานที่จำ หน่าย
สามารถสั่งซื้อเชื้อไรโซเบียมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา (ตึกไรโซ
เบียม) กรมวิชาการเกษตร ภายในเกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เชื้อไมโครไรซ่า
เป็นเชื้อรากลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดินอาศัยอยู่ตามรากพืช โดยไม่ทำ อันตรายกับพืช ทั้งนี้พืชและเชื้อราต่างพึ่งพาซึ่งกันและกันได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

เซลล์ของรากพืชและเชื้อราสามารถ
ถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ ช่วยให้รากเพิ่มเนื้อที่ในการดูดอาหารจากดินเมื่อมีไมโครไรซ่า
เกิดขึ้นท่รี าก ซงึ่ เนอื้ ทที่ เี่ กดิ ขนึ้ เกดิ จากเสน้ ใยทเี่ จรญิ อยรู่ อบๆ รากทาํ ใหส้ ามารถดดู นา้ํ และธาตุ อาหารได้มากกว่ารากที่ไม่มีไมโครไรซ่า เส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะไชชอนเข้าไปในดินช่วยดูด
ธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสและช่วยป้องกันมิให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึง
โดยปฏิกริยาทางเคมีของดินด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับธาตุอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม
เหล็ก สังกะสี ด้วย ไมโครไรซ่าที่มีความสำ คัญทางเกษตรกรรม และมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อ
นำ มาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรมี 2 พวก คือ
1. เอ็กโตไมโครไรซ่า จะพบในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่น สน เป็นต้น
2. วี-เอสไมโครไรซ่า ซึ่งอยู่ในพวกเอ็นโดไมโครไรซ่าและจะพบในพืช
พวกพืชไร่ พืชสวน พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ
สำ หรับไมโครไรซ่าที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจใน
ประเทศไทย คือ วี-เอไมโครไรซ่า ซึ่งมีผู้นำ มาใช้อย่างกว้างขวางกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น
ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ มะม่วง ลำ ไย ทุเรียน สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็น
การลดค่าใช้จ่ายแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง
ประโยชน์ที่พืชได้รับจากไมโครไรซ่า
ไมโครไรซ่ามีประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ และการเจริญเติบโตของต้นไม้หลายทางด้วย
กัน ที่สำ คัญที่สุดคือ ไมโครไรซ่าสามารถช่วยเพิ่มความเจริญเติบโตให้กับพืช และพอสรุป
ประโยชน์ของไมโครไรซ่าได้ดังนี้
1. เพิ่มพื้นที่ของผิวรากที่จะสัมผัสกับดินทำ ให้เพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหาร ของรากมากขึ้น
2. ช่วยให้พืชดูดและสะสมธาตุอาหารต่างๆ ไว้และสะสมในราก เช่นฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แร่ธาตุอื่นอีก
3. ช่วยดูดธาตุอาหารจากหินแร่ที่สลายตัวยากหรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงในดินเช่น ฟอสฟอรัสให้แก่พืช ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในปรมิ าณที่ตาํ่ ไมโครไรซ่ามีบทบาทสำ คัญในการดูดซึมฟอสฟอรัสให้แก่พืชเนื่องจากฟอสฟอรัสละลายนํ้าได้ดีในช่วง PH เป็นกลาง ในดินที่มีฤทธิ์เป็น
กรดหรือด่างฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยทางเคมี รวมตัวกับเหล็ก อะลูมินั่มแคลเซี่ยม หรือแมกนีเซี่ยมทำ ให้ไม่ละลายนํ้าซึ่งอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ไมโครไรซ่ายังช่วยดูดพวกอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่สลายตัวไม่หมดให้พืชนำ ไปใช้ได้
4. เชื้อราไมโครไรซ่าในรากพืชทำ หน้าที่ป้องกันและยับยั้งการเข้าสู่รากของโรคพืช
5. ทำ ให้โครงสร้างดินดี เนื่องจากมีการปลดปล่อยสารบางชนิด เช่นPolysaccharide และสารเมือกจากเชื้อราไมโครไรซ่า รวมกับเส้นใยของไมโครไรซ่าทำ ให้เกิดการจับตัวของอนุภาคดิน ช่วยให้โครงสร้างของดินดีป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารจากดินเนื่องจากการชะล้างของนํ้าและการพังทะลายของดิน และยังช่วยในการหมุนเวียนของธาตุอาหาร ทำ ให้ลดการสูญเสียของธาตุอาหารในระบบนิเวศน์ได้
6. ทำ ให้พืชทนแล้ง เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ผิวรากในการดูดนํ้า ทำ ให้พืชทนแล้งและพืชสามารถฟื้นตัวภายหลังการขาดนํ้าได้เร็วขึ้นจากประโยชน์เหล่านี้พืชที่มีไมโครไรซ่าจึงเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมโครไรซ่าสำ หรับไมโครไรซ่านั้นในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีจำ หน่ายแต่เกษตรกรที่สนใจสามารถ
ขอความอนุเคราะห์ได้ที่ตึกไรโซเบียมดังนั้น วิธีการนำ ไมโครไรซ่าไปใช้ เกษตรการสามารถทำ
ได้ง่ายๆ เช่น ไมผ้ ลจะขดุ รอบๆ ทรงพมุ่ ลกึ ประมาณ 20-25 ซ.ม. ก็จะพบรากฝอยนาํ เชอื้ ไมโคร
ไรซ่าไปโรยโดยรอบแล้วกลบดินจะช่วยให้ไม้ผลเติบโตได้ดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น