ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยนํ้าชีวภาพ
สำ หรับปุ๋ยอินทรีย์ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีการทำ ปุ๋ยหมักและปุ๋ยนํ้าอย่างสั้นๆ สำ หรับปุ๋ยพืชสดนั้นก็เป็นการนำ พืชตระกูลถั่วมาปลูกและเมื่อถึงระยะออกดอกซึ่งเป็นเป็นระยะที่พืชเจริญเติบโต
เต็มที่ก็จะไถกลบและปล่อยให้ย่อยสลายเน่าเปื่อยผุพังไปก่อนแล้วปลูกพืชต่อไป การใช้ปุ๋ยพืชสด
ปรับปรุงดินนี้จะเป็นการเพิ่มทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน พืช
ตระกูลถั่วได้แก่ ถั่วพร้า โสน ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วลิสง ฯลฯ พืชตระกูลถั่วบางชนิดอาจ
ปลูกแล้วรอเก็บผลผลิตก่อนก็ได้ เช่นถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น ในแต่ละปีควรปลูกพืชตระกูลถั่ว
ปีละ1 ครั้งเป็นอย่างน้อย จะปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดหรือเพื่อเก็บผลผลิตก็ได้
ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ให้ทั้งธาตุอาหารพืช จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยหมักใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นซึ่ง
จะใส่ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกพืชโดยเฉพาะพืชผักและไม้ดอกอายุสั้นต่างๆ แต่ถ้าเป็นไม้ผลจะ
ใส่ตอนเตรียมหลุมปลูกและใส่ระหว่างปีๆละ 1-2 ครั้ง การทำ ปุ๋ยหมักสามารถทำ ได้โดยใช้เศษ
พืช 2 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน ถ้าเศษพืชชิ้นใหญ่หรือเป็นเส้นยาว เช่น ฟาง ต้นข้าวโพด ผักตบชวา
ต้นถั่วเศษเหลือทิ้งหลังจากการเก็บเกี่ยว เช่น ต้นมะเขือ เถาฟักทอง เป็นต้น ก็จะวางซ้อนๆ กัน
เป็นชั้นๆ รดนํ้า พร้อมกับขึ้นไปยํ่าให้แน่นพอสมควร แต่ละชั้นของเศษพืชอาจหนาประมาณ
20-30 ซม. สลับด้วยชั้นของมูลสัตว์ หนาประมาณ 5-10 ซม. หรือถ้าเป็นเศษพืชชิ้นเล็กๆ
เช่น ขุยมะพร้าว แกลบ กากอ้อย ก็สามารถผสมคลุกเคล้ากับมูลสัตว์ให้เข้ากันพร้อม กับพรมนํ้า
ให้ความชื้น ซึ่งทดสอบความชื้นในกองปุ๋ยได้โดยใช้มือกำ เศษวัสดุแน่นๆ แล้วมีนํ้าไหลออก
มาตามร่องนิ้วมือเล็กน้อยก็ใช้ได้ เมื่อกองปุ๋ยเสร็จควรหาวัสดุเช่น ทางมะพร้าว ฟาง กระสอบ
เก่าๆ เป็นต้น มาคลุมกอง การดูแลกองปุ๋ยก็โดยกลับกองปุ๋ยทุก 3-4 สัปดาห์ เป็นเวลา
ประมาณ 3 เดือนก็สามารถใช้ได้ เมื่อได้ปุ๋ยหมักที่สุกแล้วหรือปุ๋ยหมักย่อยสลายตัวดีสามารถนำ
ไปใช้เพาะปลูกพืชได้ ปุ๋ยหมักที่สุกแล้วมีลักษณะ คือ วัสดุที่นำ ไปใช้ทำ ปุ๋ยจะเปื่อยยุ่ย สีนํ้าตาล
คลํ้าหรือดำ มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดินไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนมูลสัตว์อย่างครั้งเมื่อเริ่มทำ กอง
การทำ ปุ๋ยหมักนี้ถ้าสารเร่ง เช่น เชื้อ พ.ด.-1 ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์สำ หรับทำ ปุ๋ยหมักที่
ทางกรมพัฒนาที่ดินผลิตขึ้นและแจกให้แก่เกษตรกรใช้ทำ ปุ๋ยหมักก็สามารถนำ มาผสมกับกอง
ปุ๋ยได้ด้วยแต่ถ้าไม่มี ก็ไม่จำ เป็นต้องใช้เพียงทำ ให้สภาพกองปุ๋ยมีความชื้นเหมาะสม และมีการ
กลับกองปุ๋ยดังที่กล่าวมาแล้วก็สามารถทำ ปุ๋ยหมักได้เช่นเดียวกัน
ปุ๋ยหมักย่อยสลายตัวดีแล้วหรือปุ๋ยหมักที่สุกแล้วสามารถนำ ไปใช้เพาะปลูกพืชได้
สำ หรับสัดส่วนของเศษพืชและมูลสัตว์ก็ไม่จำ เป็นต้องใช้ตามที่กล่าวมาแล้วก็ได้อาจปรับใช้ตาม
ที่เกษตรกรสามารถหาได้ เช่น ถา้ มมี ลู สตั วม์ ากและมเี ศษพชื นอ้ ยกท็ าํ ได้เช่นเดียวกัน กลา่ วคอื
มีเศษอินทรีย์วัตถุเหลือทิ้งจากไร่นาชนิดใดก็สามารถนำ มาปรับใช้ได้ ที่สำ คัญคือต้องหมักให้
ย่อยสลายตัวดีก่อนนำ ไปใช้เพาะปลูกพืช ในการใช้ปุ๋ยหมักเพาะปลูกพืชเทคนิคสำ คัญก็คือผสม
คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากันเป็นอย่างดีก่อนแล้วจึงปลูกพืช
ปุ๋ยนํ้าชีวภาพ
ปุ๋ยนํ้าชีวภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์ในนํ้าโดยมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายมีลักษณะเป็นนํ้าใช้เป็นปุ๋ยเสริมธาตุอาหารระหว่างการเจริญเติบโตของ
พืชจะให้ทั้งธาตุอาหารพืชและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่อไปนี้เป็นสูตรการทำ ปุ๋ยน้ำ ที่ใช้
กันมากวัสดุที่ใช้มีดังนี้
1) รำ ละเอียด 60 กก.
2) มูลไก่ไข่ 40 กก.
3) เชื้อ พ.ด.-1 1 ซอง
หมายเหตุ
ก. เชื้อ พ.ด.-1 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำ ปุ๋ยหมักซึ่งกรมพัฒนาที่ดินผลิตขึ้น ถ้าไม่มี
ก็ไม่ต้องใช้ก็ได้
ข. เนื่องจากรำ มีราคาแพงอาจใช้น้อยลงหรือถ้าหาไม่ได้ก็ไม่ใช้ก็ได้
วิธีการทำ และการใช้
นำ วัสดุทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยพรมนํ้าให้มีความชื้นขนาดใช้มือกำ แล้ว
ปล่อยมือก้อนวัสดุก็ยังคงรูปอยู่ก็ใช้ได ้ เมอื่ คลกุ เคลา้ วสั ดดุ แี ลว้ ใหท้ าํ กองแลว้ คลมุ ดว้ ยกระสอบ
คลุมกองไว้ 7-10 วัน โดยระหว่างนี้ต้องกลับกองทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง หลังกลับกองต้องคลุมกอง
ไว้เช่นเดิม เมื่อครบกำ หนดให้แผ่กองปุ๋ยออกผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เมื่อปุ๋ยแห้งแล้วให้เก็บรักษาโดย
ตักใส่กระสอบที่สามารถระบายอากาศได้ดี และเก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวกจะเก็บไว้ได้
นาน เมื่อจะนำ ปุ๋ยมาใช้ให้นำ ปุ๋ยแห้ง 1 กก. ผสมนํ้า 20 ลิตร โดยใส่ถังหรือตุ่มวางไว้ตามแปลง
ใช้ไม้ไผ่คนทุกๆ วัน ๆ ละ 3-4 ครั้งๆ ละ 1 นาที ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะใช้ได้(ถ้าไม่ใช้ไม้คน
อาจใช้วิธีปั้มอากาศเข้าไปก็ได้เช่นเดียวกับแบบตู้ปลา) แต่ควรผสมนํ้าอีก 20-40 ท่า ก่อนนำ
ไปรดต้นพืชวิธีการใช้กับพืชอาจรดที่โคนต้น หรือปล่อยตามร่อง (หรือ ฉีดพ่นทางใบก็ได้) หรือ
จะต่อเข้ากับระบบการให้นํ้าให้ปุ๋ยก็ได้ การให้ปุ๋ยนํ้าจะให้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความอุดม
สมบูรณ์ของดินและความต้องการของพืช ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะของใบพืช ถ้าใบพืชมีสีเหลือง
ซีดแสดงว่าได้รับธาตุอาหารไม่พอ ถ้าใบสีเขียวเข้มเกินไปแสดงว่าได้รับธาตุอาหารเกิน แต่ถ้าใบ
พืชเป็นสีเขียวแต่ไม่เขียวเข้มจนเกินไป ใบแผ่กว้าง เห็นเส้นใบชัดเจน ก้านใบชูรับแสงเต็มที่
แสดงว่าพืชได้รับธาตุอาหารเหมาะสมดีแล้ว พืชที่ได้รับธาตุอาหารมากหรือน้อยเกินไปจะอ่อน
แอต่อการเข้าทำ ลายของโรคและแมลง แต่ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารพอเหมาะจะแข็งแรงสามารถ
ต้านทานโรคและแมลงได้ดีกว่า
สำ หรับรายละเอียดของปุ๋ยหมักและปุ๋ยนํ้าชีวภาพสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ
ปุ๋ยหมักดินหมัก และปุ๋ยน้ำ ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงดินโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ซงึ่ เขยี นโดย
อาจารย์ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์, สำ นักพิมพ์โอเดียนสโตร์ 2542.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น