การตอนกิ่งผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นผักพื้นบ้านนิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและภาคเหนือ มีการนำยอดมารับประทานเป็นผักจิ้มด้วยการลวกหรือนึ่งให้สุก หรือนำมาประกอบอาหาร ในพื้นที่ภาคอีสานมีการบริโภค
ผักหวานป่ามากที่สุด แต่มีการปลูกเป็นการค้าเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ผักหวานป่าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เก็บมาจากต้นที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าและสามารถเก็บเกี่ยวได้ในบางฤดูกาล ส่งผลให้
ผักหวานป่ามีราคาค่อนข้างสูงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการปลูกผักหวานป่ากันน้อย เพราะขยายพันธุ์ได้ยาก เจริญเติบโตช้า รวมทั้งขาดการส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าการขยายพันธุ์ผักหวานป่ามีหลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่งและการปักชำ แต่วิธีการที่นิยมใช้โดยทั่วไปเป็นการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดมีข้อดีคือ มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก แต่มีข้อจำกัดที่เมล็ดพันธุ์หาได้ยากและเมล็ดสูญเสียความงอกเร็วส่วนวิธีการตอนกิ่งได้ต้นพันธุ์ขนาดใหญ่กว่า
การตอนกิ่งผักหวานป่า
การตอนกิ่งผักหวานป่านิยมทำกันช่วงฤดูฝน เดือนกรกฎาคม-กันยายน จัดเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่
สุด มีวิธีการดังนี้
1. การเลือกกิ่ง เลือกกิ่งตอนที่มีอายุ 1 ปี เป็นกิ่งสมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กิ่งตั้งแต่ 0.7 ซม. ขึ้นไป มักใช้กิ่งตั้งตรง เช่น กิ่งกระโดง มากกว่ากิ่งที่อยู่ในแนวนอน เพราะมีการเกิด
รากดีกว่า
กิ่งที่เหมาะสมสำหรับการตอน
2. การควั่นกิ่ง เพื่อให้เกิดการสะสมอาหาร บริเวณตอนบนของรอยควั่น ความยาวแผลที่ควั่นกิ่ง
ประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นใช้คีมบิดเปลือกไม้ออก ขูดเนื้อเยื่อออกให้หมด
การควั่นกิ่ง
3. การใช้สารเร่งราก นำเซราดิก (IBA ความ เข้มข้น 3,000 ppm) ละลายด้วยน้ำ ใช้พู่กันทาบริเวณ
รอยแผลด้านบน ทิ้งให้แห้งพอหมาดๆ
การใช้สารเร่งราก
4. การหุ้มกิ่งตอน ใช้ขุยมะพร้าวที่ยังไม่ได้ปั่นเส้นใยออก หรือใช้กาบมะพร้าวแช่น้ำทุบให้ยุ่ย เป็นตุ้ม
ตอนขนาดประมาณ 2 นิ้ว x 4 นิ้ว หากใช้ขุยมะพร้าวร่อนเมื่อแกะถุงออก ขุยมะพร้าวจะแตกออกจากกัน ซี่งระบบรากผักหวานป่าเป็นระบบรากเดี่ยว ไม่มีรากฝอยอาจทำให้อัตราการรอดตายต่ำลง
การหุ้มกิ่งตอน
5. การดูแลรักษากิ่งตอนขณะออกราก ต้องรักษาความชื้นให้เหมาะสม ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งต้องมี
การให้น้ำตุ้มตอนเพิ่มขึ้น หลังจากตอนประมาณ 2-3เดือน ตัดกิ่งตอนลงถุง และดูแลรักษาในโรงเรือนเพาะชำประมาณ 1-2 เดือน แล้วจึงนำไปปลูกลงแปลง
การเกิดรากของกิ่งตอนผักหวานป่า
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น