ผักกาดเขียวปลี
ผักกาดเขียวปลี เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอกและคะน้า เป็นผักอายุปีเดียวอายุการเก็บเกี่ยว 55-75 วัน ก้านและใบสีเขียว อ่อนกรอบ โคนก้านยึดติดกับรากและพื้นดินปลีสีเขียว
อ่อนมีใบอ่อนหุ้มอยู่โดยรอบ สามารถปลูกได้ตลอดปี ในประเทศไทยจะปลูกมากในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ ในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน นครราชสีมา และในเขตภาคตะวันตก คือ กาญจนบุรี
ผักกาดเขียวปลีเป็นผักที่ไม่นิยมบริโภคสด จะนิยมนำ มาดองในระยะแรกจะเป็นการดอง
ในระดับครอบครัว แต่ต่อมาความต้องการในตลาดสูงขึ้นมีการส่งออกไปจำ หน่ายยังตลาดต่างประเทศ
เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเทคนิคในการดองไม่ซับซ้อน อุตสาหกรรมการดองผักกาดเขียวปลีจึงมีการ
ขยายตัว ทำ ให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรจะมีแหล่งจำ หน่ายผลผลิต ที่แน่นอนเสียก่อน ที่จะทำ การปลูกผักกาดเขียวปลี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกผักกาดเขียวปลี
ผักกาดเขียวปลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนซุย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งดินนํ้าไหลทรายมูลสภาพของดินเป็นกลาง แปลงปลูกควรได้รับแสงแดดเต็มที่ ส่วนอุณหภูมิ
ที่เหมาะสมคือ 15-20 องศาเซลเซียส
พันธ์ ผักกาดเขียวปลี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. พันธุ์ปลีกลม มีลักษณะใบกว้างหนา นํ้าหนักผลผลิตต่อไร่สูงแต่มักเกิดอาการปลีแตก
2. พันธุ์ปลีแหลม มีลักษณะหัวปลีแหลม นํ้าหนักผลผลิตต่อไร่ตํ่ากว่าพันธุ์ปลีกลม แต่ไม่ค่อย
เกิดอาการปลีแตก
สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวปลีที่มีจำ หน่ายในประเทศไทยมีหลายพันธุ์แต่ที่นิยมในท้องตลาด
มีดังนี้
1. บลูซิน ให้ปลีขนาดใหญ่เหมาะสมสำ หรับปรุงอาหาร และดองอายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน
ฤดูปลูกที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-มกราคม เหมาะสำ หรับปลูกในภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด เช่น เลย
2. กู๊ดเวอร์ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำ หรับการดองอายุเก็บเกี่ยว 50-55 วัน ปลูกได้ตลอดปี
และทุกภาพ
3. แม็ค ให้ปลีขนาดใหญ่ เหมาะสำ หรับการดองอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-55 วัน ปลูก
ได้ตลอดปีและทุกภาพ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวปลี
เมล็ดพันธุ์นํ้าหนัก 1 กรัม จะมีจำ นวนเมล็ดประมาณ 700 เมล็ด
ก่อนเพาะเมล็ดควรนำ ไปแช่นํ้าอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ใช้นํ้าร้อนผสมกับ
นํ้าเย็น อัตราส่วน 1:1) แช่ไว้นานประมาณ 30 นาที
การเตรียมดิน
1. แปลงเพาะกล้า ย่อยดินให้ละเอียดคลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว ทำ ร่องลึก
ประมาณ 1 เซนติเมตร โรยเมล็ดเป็นแถว แล้วกลบด้วยดินผสมบางๆ รดนํ้าด้วยฝอยละเอียดคลุมด้วย
หญ้าแห้งหรือฟาง แต่เนื่องจากกล้าผักกาดเขียวปลีค่อนข้างอ่อนแอ จึงควรย้ายลงถุงเพาะชำ ครั้งหนึ่ง
ก่อนเมื่ออายุ 20-25 วัน แล้วจึงย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่ออายุ 30-35 วัน
2. แปลงปลูกผักกาดเขียวปลีควรขุดไถดินลึกประมาณ 15-20 ซม. ตากดินประมาณ 5-7 วัน
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ พรวนย่อยชั้นหน้าดินให้
ละเอียดถ้าดินเป็นกรดควรปรับโดยการใส่ปูนขาว
การปลูกผักกาดเขียวปลี
มี 3 วิธี คือ
1. การปลูกแบบหว่าน นำ เมล็ดไปหว่านให้ทั่วแปลงที่ได้เตรียมดินไว้แล้ว จากนั้นใช้ปุ๋ยคอก
หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่านโรยทับลงไปหนาประมาณ 0.5-0.8 ซม. คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้า
แห้งบางๆ รดนํ้าด้วยฝอยละเอียด เมื่อมีใบจริง 3-4 ใบ ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์เบียดชิดกันออกทิ้ง ควร
ให้ได้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50x50 ซม.
2. การปลูกแบบหยอดเมล็ด ทำ ได้ทั้งโรยเมล็ดเป็นแถวและหยอดเมล็ดเป็นหลุม โดยมีระยะ
ห่างระหว่างแถวต้น 50x50 ซม. หยอดเมล็ดหลุมละประมาณ 3-5 เมล็ด กลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
ที่สลายตัวดีแล้ว รดนํ้าด้วยฝอยละเอียด ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบางๆ เริ่มถอนแยกเมื่อต้นกล้ามี
ใบจริง 1-2 ใบ จนถึง 3-4 ใบให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
3. การปลูกแบบเพาะกล้า การปลูกโดยวิธีจะประหยักเมล็ดพันธุ์ได้มากกว่า 2 วิธีแรกที่กล่าว
มา โดยเฉพาะในการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพง มักทำ ในแปลงที่มีขนาดใหญ่ และต้องการผักที่มี
คุณภาพสูง โดยการหว่านหรือโรยเมล็ดเป็นแถวในแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้แล้ว แต่เนื่องจากกล้าผักกาด
เขียวปลีค่อนข้างอ่อนแอ ควรย้ายลงถุงเพาะชำ เมื่ออายุได้ 20 วัน แล้วย้ายปลูก เมื่ออายุได้ 30 วัน
การดูแลรักษาผักกาดเขียวปลี
1. การให้ปุ๋ย สัดส่วนใส่ปุ๋ยที่จะใช้กับผักกาดเขียวปลีควรประกอบด้วยไนโตรเจน 1.5-2 ส่วน
ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโปตัสเซี่ยม 1.5-2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 ร่วมกับ
ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย โดยใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น ปริมาณ 50-150 กก./ไร่ ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์
ของดินและใส่ปุ๋ยเสริมคือปุ๋ยไนโตรเจน 2 ครั้ง อัตรา 20-25 กก./ไร่ เมื่อผักกาดเขียวปลีมีอายุ 14
และ 30 วัน ตามลำ ดับ
นอกจากนี้แล้วควรให้ธาตุอาหารที่จำ เป็นแก่ผักกาดเขียวปลี คือโบรอน ซึ่งอาจทำ ในรูปของ
โบแรกซ์ อัตราประมาณ 2-4 กก./ไร่ หรือละลายฉีดพ่นใบ อัตราส่วน 40 กก./นํ้า 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
ทุกต้นระหว่างการเจริญเติบโต
2. การให้นํ้า ผักกาดเขียวปลีต้องการนํ้าบ่อยครั้งและสมํ่าเสมอในระยะกล้าและปริมาณมาก
ขึ้นในช่วงการเจริญเติบโต แต่ต้องการน้อยลงเมื่อต้นเข้าระยะห่อปลี
3. การพรวนดินกำ จัดวัชพืช ควรทำ พร้อมกับการถอนแยกในระยะแรก
การเก็บเกี่ยวผักกาดเขียวปลี
อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวปลีตั้งแต่วันหยอดเมล็ดถึงวันเก็บเกี่ยว ประมาณ 55-75 วัน
เลือกตัดหัวที่เข้าปลีแน่นได้ขนาดที่ต้องการโดยใช้มีดสะอาดตัดทีเดียวให้ขาด เก็บใส่ภาชนะรีบนำ เขา้
ร่มเพื่อรอการขนส่งต่อไป
โรคและแมลงของผักกาดเขียวปลี
โรคของผักกาดเขียวปลีที่สำ คัญมีดังนี้
1. โรคเน่าคอดิน
สาเหตุเกิด จากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ส่วนโคนต้นกล้าที่อยู่ระดับดินจะมีลักษณะเป็นรอยชํ้าสีนํ้าตาลเกิดจากแปลง
ผักชื้นแฉะอยู่เสมอ หรือต้นพืชหนาแน่นจนเกินไป อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จะทำ ให้พืชตายอย่างรวดเร็ว
เป็นหย่อมๆ ยอดจะแห้งคล้ายกับถูกนํ้าร้อนลวก ในสภาพที่มีอากาศเย็น และมีความชื้นสูงอาจพบเส้น
ใยสีขาว คล้ายปุยสำ ลีของเชื้อราขึ้นคลุมบริเวณที่เกิดโรค
การป้องกันกำ จัด
1. คลุกเมล็ดก่อนนำ ไปปลูกด้วยยาป้องกันกำ จัดเชื้อรา
2. อย่าเพาะกล้าหนาแน่นเกินไป ควรถอนกล้าออกบ้าง เพื่อให้อาการถ่ายเทได้ดี
3. ระวังเรื่องความชื้น อย่าให้นํ้ามากโดยไม่จำ เป็น
4. เลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน
2. โรคเน่าเละ
สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา
ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกจะปรากฎเป็นจุดสีคลํ้าฉํ่านํ้าใสๆ ตรงบริเวณแผลที่เชื้อเข้า
ทำ ลายต่อมาบริเวณเน่าจะขยายลุกลามไปเรื่อยๆ สีเหลืองอ่อน เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลง แผลเปียก
เป็นเมือกเยิ้ม มีกลิ่นเหม็น
โรคเน่าเละการป้องกันกำจัด
1. ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผล หรือรอยชํ้าขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง
2. แปลงปลูกให้มีการระบายนํ้าดี
3. อย่าให้นํ้ามากเกินไป
3. โรคโอกึนหรือโอเก็ง
สาเหตุ ขาดธาตุโบรอน
ลักษณะอาการ พืชจะแคระแกรน มีรอยแตกขึ้นตามผิวของส่วนต่างๆ เช่น ลำ ต้น ก้านใบ
การป้องกันกำจัด ให้ธาตุอาหารพวกโบรอนลงไปในดิน
4. โรคใบด่าง (Mosaic)
สาเหตุเกิดจาก เชื้อวิสา Tumip Mosaic Virus (TuMV)
ลักษณะอาการ ใบด่างเหลือง ชะงักการเจริญ เนื้อใบหยิกเป็นคลื่นโดยเฉพาะใบส่วนยอด
ถ้าโรคนี้เข้าทำ ลายตั้งแต่ต้นยังเล็กพืชจะไม่เข้าปลีหรือลงหัว เชื้อวิสาชนิดนี้สามารถถ่ายทอดได้
อย่างรวดเร็วด้วยการสัมผัส แต่ไม่ติดไปกับเมล็ดพันธ์ โดยธรรมชาติจะถ่ายทอดโดยเพลี้ยอ่อน
การป้องกันกำ จัด
1. ระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เพื่อลดการกระจายโรคโดยการสัมผัส
2. ถอนต้นที่เป็นโรคออกเผาทำ ลายทันทีที่พบ
3. กา ํ จดั แมลงที่จะทาํ ให้โรคแพร่ระบาด
โรคใบด่าง
แมลงศัตรูที่สำ คัญมี ดังนี้
1. หนอนกระทู้ผัก
ตัวหนอนมีลักษณะลาํ ตวั อว้ นปอ้ ม ผิวหนังเรียบ มสี ตี า่ งๆ กัน สว่ นหวั มจี ดุ สดี าํ ใหญต่ รงปลอ้ ง
ที่ 3 หนอนที่เกิดใหม่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อโตเต็มที่มีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้าระยะ
ตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทำ ลาย
จะกัดก้านใบ และปลีในระยะเข้าปลี
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูสวนผักเป็นระยะๆ เมื่อพบไข่และตัวหนอนที่กำ ลังอยู่กนั เปน็ กลมุ่ กท็ าํ การเกบ็
ทำ ลาย
2. การใช้สารเคมี มักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะหนอนอ่อนแอต่อสารเคมี ป้องกันและกำ จัดแมลง
โดยใช้สารเคมีกลุ่มเมธามิโดฟอสหรือโมโนโครฟอส และหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
2. หนอนใยผัก
ตัวเต็มวัยของหนอนใยผักเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กประมาณ 6-7 มม. มีสีเทาส่วนหลัง
มีแถบสีเหลืองส้ม ตัวเต็มวัยมีอายุ 5-7 วัน สามารถวางไข่ได้หลายครั้ง วางไข่ได้สูง โดยเพศเมียวางไข่
เป็นฟองเดี่ยวๆ ประมาณ 2-10 ฟอง วางทั้งบนและใต้ใบพืชตัวเต็มวัยเพศเมียตัวหนึ่งๆ วางไข่ได้
ประมาณ 47-407 ฟอง ไข่มีสีเหลืองอ่อนเป็นมัน ระยะไข่ 3-4 วัน หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะ
อาศัยกัดกินอยู่ภายในใบ หลังจากนั้นจะออกมากัดกินภายนอกทำ ให้ผักเป็นรูพรุน หนอนมีลักษณะ หัว
แหลม ท้ายแหลม ลำ ตัวเรียวยาว ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นเป็น 2 แถว หนอนมีสีเขียวอ่อนเทาหรือเขียวปน
เหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและทิ้งตัวลงก่อนโดยการสร้างใย
การป้องกันกำ จัด
1. ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส (บีที) ฉีดพ่นใบเวลาบ่ายหรือเวลาเช้า
2. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อจับตัวเต็มวัยของหนอนใยผัก
3. เลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากหนอนใยผักจะระบาดในช่วงฤดูแล้ง ส่วนในช่วงฤดู
ฝนทำ ลายเพียงเล็กน้อย
4. การใช้สารเคมีป้องกันกำ จัดแมลง แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหา
แมลงดื้อต่อสารเคมี และพิษตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม
3. ด้วงหมัดผัก
ด้วงหมัดผัก มี 2 ชนิด คือชนิดมีแถบสีนํ้าตาลอ่อนพาด 2 แถว (ชนิดลาย) และชนิดสีนํ้าเงิน
เข้ม ลักษณะการทำ ลายด้วงหมัดผักเต็มวัยจะกัดกินใบจนรูพรุน และตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินเข้ากัดกิน
ส่วนของรากและชอนไชกัดกินโคนต้น ทำ ให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตต้นเหี่ยวเฉา
การป้องกันกำ จัด
1. ไถตากหน้าดินในฤดูแล้ง เพื่อทำ ลายตัวอ่อนหรือดักแด้ในดิน
2. ใช้ยาฆ่าแมลงพวก เซพวิน 85% 20-30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
3. หมุนเวียนชนิดผัก ควรหยุดช่วงการปลูกผักตระกูลกะหลํ่าและหาผักชนิดอื่นมาปลูก
สลับบ้าง
ข้อควรคำ นึงก่อนการปลูกผักกาดเขียวปลี
1. ควรมีแหล่งจำ หน่ายผลผลิตที่แน่นอน2. ควรมีการขนส่งที่ดี การคมนาคมสะดวกและมีประสิทธิภาพ การขนส่งสูงซึ่งจะทำ ให้ธุรกิจมี
ความคล่องตัว
3. ควรมีการตกลงกำ หนดมาตรฐานคุณภาพและราคาของผักกาดเขียวปลี ระหว่างเกษตรกร
และโรงงาน
4. ควรผลิตเป็นกลุ่มเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของทางราชการและโรงงานช่วยแก้ปัญหาการผลิตและ
รับซื้อได้สะดวก
การแปรรูปผักกาดเขียวปลี
ผักกาดเขียวปลีดอง
ส่วนประกอบ
ผักกาดเขียวปลี 1 กิโลกรัม
นํ้าเกลือร้อยละ 10 – 15 (ละลายเกลือ 100-250 กรัมในนํ้าสะอาด 1 ลิตร)
นํ้าตาลทรายขาว 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาด ผึ่งแดดให้ผักเหี่ยวประมาณ 1 วัน
2. เรียงผักลงไหที่สะอาด เทนํ้าเกลือผสมนํ้าตาลให้ท่วมหาของหนักๆ ทับไว้ตอนบนทิ้งไว้จน
เปรี้ยวรับประทานได้ ซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับปริมาณเกลือที่ใช้ ถ้าใช้เกลือน้อยก็จะเปรี้ยวเร็ว
ผักกาดเขียวปลีดอง
ส่วนประกอบ
นํ้าปรุงรส ประกอบด้วย
นํ้าปลาหรือซีอิ้วขาว 750 มิลลิลิตร
นํ้าสะอาด 750 มิลลิลิตร
นํ้าตาลทรายขาว 700 กรัม หรือ 7 ขีด
ข่าป่น 2 ช้อนโต๊ะ หรือ ประมาณ 8 กรัม
วิธีทำ
1. ผักกาดดองเค็มตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนมากจะใช้แต่ก้านไม่ใช้ใบ
แช่นํ้าให้รสเค็มออกไปบ้างประมาณ 1 ชั่วโมง (ถ้าดองเค็มจัด) เอาขึ้นให้สะเด็ดนํ้า
2. ต้มนํ้าปรุงรสทิ้งให้เย็น เรียงผักลงไปเติมนํ้าปรุงรสให้ผักอยู่ใต้นํ้าปรุงรสตลอดเวลาที่ดอง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น